
เนื้อหมูราคาแพง : การอธิบายด้วยกฎธรรมชาติทางเศรษฐศาสตร์
เนื้อหมูราคาแพง : การอธิบายด้วยกฎธรรมชาติทางเศรษฐศาสตร์
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้สัมภาษณ์ว่าได้มีมาตรการในการแก้ปัญหาเนื้อหมูราคาแพงด้วยการห้ามส่งออกเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อให้ปริมาณเนื้อหมูกลับเข้าสู่ระบบการบริโภคในประเทศ ก่อนและเร่งส่งเสริมการเลี้ยงหมูเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มปริมาณเนื้อหมูให้เพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศ
คำอธิบายเรื่องปริมาณผลผลิตขาดแคลนหรือไม่เพียงพอ กับความต้องการของผู้บริโภค แทบจะกลายเป็นคำอธิบายหลักที่ใช้ได้ในแทบทุกกรณีเมื่อมีปรากฏการณ์สินค้าทางการเกษตรมีราคาสูงขึ้น
เช่น กรณีราคาทุเรียนของปี พ.ศ.2564 ที่สูงขึ้นกว่าปี พ.ศ.2563 ก็ถูกอธิบายว่าเป็นเพราะผลผลิตทุเรียนถูกส่งออกไปประเทศจีนเพิ่มขึ้นทำให้มีผลผลิตทุเรียนเข้าสู่ตลาด(ไทย)น้อยลงกว่าปีที่แล้ว จึงเป็นเหตุให้ผู้บริโภคในไทยต้องเผชิญกับราคาทุเรียนที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม หากจะมีคนสงสัยว่า เหตุใดเมื่อปริมาณสินค้าหรือปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยลง แล้วจึงทำให้สินค้านั้น ๆ มีราคาแพงขึ้น คำตอบที่เขาจะได้รับก็คือเพราะมันเป็น “กฎธรรมชาติ” และนักเศรษฐศาสตร์คงแทบจะกลั้นหัวเราะไม่อยู่ขณะที่ตอบคำถามนี้
ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ทำให้ผมนึกถึงบางส่วนในหนังสือ นักสืบเศรษฐศาสตร์ที่มี ทิม ฮาร์ฟอร์ดเป็นผู้เขียน ซึ่งเป็นหนังสือขายดีพิมพิมพ์ซ้ำ 10 ครั้งในช่วงเวลาเพียง 5 ปี(2551 – 2555) บางตอนดังกล่าวนั้นมีเนื้อความว่า